นกเขาชวา
นกเขาชวา (Dove)
นกเขาชวา มีชื่ออื่นว่า นกเขาเล็ก หรือนกเขาแขก
ชื่อวงศ์ Columbidae Genus : Geopelia Swainson
ชื่อวิทยาศาสตร์ Geopelia striata (Linnaeus) Geopelia striata ภาษาลาติน แปลว่า รอยไถ หรือลาย ความหมาย คือ นกเขาที่มีลาย ภาษาอังกฤษเรียก Zebra Dove
ชื่อวงศ์ Columbidae Genus : Geopelia Swainson
ชื่อวิทยาศาสตร์ Geopelia striata (Linnaeus) Geopelia striata ภาษาลาติน แปลว่า รอยไถ หรือลาย ความหมาย คือ นกเขาที่มีลาย ภาษาอังกฤษเรียก Zebra Dove
ลักษณะนกเขาชวาเพศผู้
1.มีหัวใหญ่ค่อนข้างยาว มีหมอกหน้าผากสีขาวมากยาวถึงกลางหัว และหมอกขาวใต้คางก็มีสีขาวเป็นทางยาวต่ำ
2.หลังและหน้าอกใหญ่ หางไม่ยก
3.ตะเกียบ (กระดูกเชิงกราน)ชิดกัน ตะเกียบดังกล่าวอยู่ใต้ท้องใกล้ทวารของนกลองเอานิ้วมือแตะดูจะพบว่ามีเอ็นอยู่คู่หนึ่งนกตัวผู้จะมีตะเกียบชิดและแข็ง
4.นิ้ว ข้อ และเกร็ดใหญ่ รวมทั้งตุ่มนิ้วก้อยโตเห็นชัด และลายฝ่าเท้าที่เป็นเม็ด ๆ จะเป็นเม็ดโตเห็นชัดเส้นข้อลึกกว่านกเขาเพศเมีย
ลักษณะนกเขาชวาเพศเมีย
1. หัวกลมเล็กหมอกหน้าผากสีขาวนวลสั้นมาก
2. หลังแอนหางยก โดยเฉพาะเวลาที่ถูกนกเขาชวาเพศผู้เหยียบบนหลัง นกเขาชวาเพศเมียจะยกหางขึ้นรับทันที
3. ตะเกียบห่างและอ่อน
4. นิ้วเรียวเล็ก ตุ่มก้อยนิ้วหลังไม่โต เนื้อเรียบเสมอกันตลอด และลายฝ่าเท้าที่เป็นเม็ด ๆ เล็กละเอียด นกเขาชวาเพศเมียมีประโยชน์ในการล่อให้นกเขาชวาเพศผู้นกอื่นๆ ในบ้านขันบ่อย ๆ เป็นการฝึกให้นกเขาชวาเพศผู้ขึ้นเร็ว เพื่อเมื่อนกเขาชวาเพศเมียขันครั้งใด นกเขาชวาอื่น ๆ ก็จะขานรับทันที ปกติถ้าเป็นนกใหม่มักขันเพียงคำสองคำ แต่ถ้าเป็นนกเขาชวาที่ขึ้นแล้ว (คำว่า "ขึ้นแล้ว" หมายถึงนกที่ขันมากแล้ว คือขันจับตับแล้ว "จับตับ" หมายถึง ขันเป็นชุด ๆ) ก็จะขันนานหน่อย บางครั้งนกที่เลี้ยงไว้อาจขันเพื่อร้องหาคู่แต่เมื่อนกเขาชวาเพศเมียขานรับนกเขาชวาเพศผู้เหล่านั้นก็จะขันมากและดังขึ้น เป็นการแสดงคารมเพื่อแสดงความสามารถที่เหนือกว่าในการแย่งนกเขาชวาเพศเมีย การแย่งชิงเช่นนี้ทำให้นกเขาชวาขันได้บ่อยขึ้นและทำให้ลืมป่าลืมความกลัวมากขึ้น และเกิดความเคยชินกับบ้านมากขึ้นด้วย
อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงนกเขาชวา
1.ข้าวฟ่างใช้เลี้ยงนกเขาชวามี ๓ สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีดำ
2.ดอกสมุทรโคดม เป็นข้าวที่มีลักษณะเป็นเมล็ดกลมขนาดเมล็ดถั่วเขียว
3.ดอกหญ้าปากควาย ปกตินกเขาชวาชอบกินดอกหญ้าปากควายมาก แต่ไม่ควรให้มากเกินไป เพราะจะทำให้นกผอมและเสียงแห้งเมล็ดผักเสี้ยน ช่วยเป็นยาระบายอ่อน ๆ ของนกเขาชวา
4.ลูกเซ่ง เป็นหญ้าชนิดหนึ่งขึ้นปะปนกับต้นข้าวในนา
5.งาดำ งาดำเปลือกเป็นยา ดีกว่างาขาว
5.งาดำ งาดำเปลือกเป็นยา ดีกว่างาขาว
6.ถั่วเขียว ก่อนให้เป็นอาหารนกเขาขวา ควรตำเล็กน้อย พอให้เปลือกแตก แต่อย่าให้ละเอียดนัก ถั่วเขียวจำเป็นต้องให้แก่นกที่กำลังผสมพันธุ์อย่างมาก เพื่อช่วยบำรุงร่างกาย
7.ทรายและเปลือกหอยป่น ช่วยบำรุงกระดูกของนกเขาชวา และช่วยย่อยอาหารโดยเฉพาะเปลือกหอยป่น มีแคลเซียม และช่วยบำรุงกำลังให้นก ส่วนทรายทะเลช่วยให้ระบบย่อยอาหารของนกดีขึ้น
8.ดินลูกรัง นกเขาชวาชอบกินดินลูกรังที่ได้จากภูเขา ดินลูกรังให้ธาตุเหล็กแก่นก
9.ดินดำ เป็นดินปลวกดำ
10.นกชอบน้ำสะอาด ต้องมีไว้อย่าให้ขาด
11.ข้าวไร่ นกเขาชอบกินแต่ไม่ควรให้บ่อย เพราะจะทำให้นกน้ำหนักเบา และขันเสียงตกอาหารทุกอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด
ยกเว้น ข้าวเปลือก น้ำสะอาด และทราย ก่อนจะให้เป็นอาหารนก จะต้องนำมาคลุกเคล้าผสมกัน ซึ่งในปัจจุบันอาจไม่มีครบทุกอย่าง แต่ก็มีผู้ผสมอาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงนกเขาชวาโดยเฉพาะ ซึ่งจะหาซื้อได้ทั่วไป หรือจะซื้อแต่ละชนิดมาผสมเองก็ได้
สนามแข่งนกเขา
สนาม : สวนขวัญเมือง
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
สนามสวนขวัญเมืองเป็นสนามแข่งนกเขาที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดยะลา สามารถรองรับนกได้มากถึง 1,500 นก
มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมมากมาย ทั้งจากในประเทศ และต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงค์โปร์ เป็นต้น
สนามนกเขายะลา ณ สวนขวัญเมืองยะลา เป็นสนามสำหรับการแข่งขันนกเขาระดับจังหวัด และยังเป็นสถานที่ที่ร่มรื่น น่าอยู่ เหมาะสำหรับการออกกำลังกายยามเย็น รวมทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเหมาะกับการเก็บภาพสวยๆ สนามนกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสวนขวัญเมืองยะลา ซึ่งเป็นสวนสาธารณะสถานที่หนึ่งของเมืองยะลา เป็นสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น เหมาะสำหรับการผักผ่อนย่อนใจ นอกจากเก็บภาพสวยๆ และชมมหกรรมแข่งขันในสนามนกเขาแล้ว สามารถขับรถเล่นชมบรรยากาศในบริเวณสวนขวัญเมืองได้ด้วย สะดวกต่อการบริโภคและอุปโภค เพราะจะมีร้านค้า ภัตตาคาร สวนเด็กเล่น และยังเป็นสวนสาธารณะที่มีพื้นที่สีเขียวมากด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น