การทำนาเกลือปัตตานี
ลักษณะ/วิธีการ
สถานที่ที่เหมาะสมแก่การทำนาเกลือ
คือ
พื้นที่ราบริมทะเล
ที่น้ำทะเลสามารถขึ้นได้ในช่วงเดือนข้างขึ้นตลอดปี โดยเฉพาะจังหวัดที่มีริมทะเล
เพราะดินเป็นดินเหนียว ในภาคใต้มีการทำนาเกลือแห่งเดียว คือ ที่จังหวัดปัตตานี ดังในบันทึกของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
รายงานทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓
ความว่า
"ในเมืองปัตตานี มีนาเกลือ แห่งเดียวตลอดแหมมลายู สินค้าเกลือเมืองปัตตานี ขายได้อย่างแพงถึงเกวียนละ ๑๖ เหรียญ ขายตลอดออกไปจนถึงสิงคโปร์เกาะหมาก"
การทำนาเกลือเริ่มต้นโดยการเลือกพื้นที่ใกล้ชายทะเลที่ราบเรียบ ที่เหมาะสม ที่เป็นดินเหนียว จากนั้นก็ยกคันนาเป็นแปลง ๆ ขนาดประมาณ ๑๐ - ๔๐ เมตร เพื่อแบ่งพื้นที่ เหมือนนาข้าว คันนากว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร พอให้คนเดินผ่านไปมาได้ และไม่สูงเกิน ๑ ฟุต สามารถขังน้ำทะเลได้
"ในเมืองปัตตานี มีนาเกลือ แห่งเดียวตลอดแหมมลายู สินค้าเกลือเมืองปัตตานี ขายได้อย่างแพงถึงเกวียนละ ๑๖ เหรียญ ขายตลอดออกไปจนถึงสิงคโปร์เกาะหมาก"
การทำนาเกลือเริ่มต้นโดยการเลือกพื้นที่ใกล้ชายทะเลที่ราบเรียบ ที่เหมาะสม ที่เป็นดินเหนียว จากนั้นก็ยกคันนาเป็นแปลง ๆ ขนาดประมาณ ๑๐ - ๔๐ เมตร เพื่อแบ่งพื้นที่ เหมือนนาข้าว คันนากว้างประมาณ ๕๐ เซนติเมตร พอให้คนเดินผ่านไปมาได้ และไม่สูงเกิน ๑ ฟุต สามารถขังน้ำทะเลได้
หลังจากนั้นก็จะปรับพื้นนาแต่ละแปลงให้ราบเรียบ
ให้แปลงนาที่อยู่ไกลที่สุดจากทะเลมีระดับสูงกว่าแปลงนาที่อยู่ใกล้ลำคลองที่เชื่อมติดกับทะเล
เมื่อนำน้ำทะเลไปตามลำคลองส่งน้ำ
ให้น้ำไปขังอยู่ในแปลงเหนือสุดก่อน
น้ำที่วิดเข้าก็จะไหลไปตามคลองลงสู่แปลงนาตอนบน ให้น้ำขังอยู่แปลงบน (แปลงที่ ๑)
น้ำค่อย ๆ ไหลลงแปลงนาที่ต่ำถัดมาตามลำดับ (แปลงที่ ๒)
แปลงที่ ๑ - ๒ จะให้หญ้าขึ้นได้ จากนั้นสังเกตดู ถ้าน้ำแปลงที่ ๑ - ๒ ลด
เจ้าของต้องวิดน้ำใส่เพิ่มอยู่เสมอๆ เมื่อที่ขังอยู่ในแปลงที่ ๑ - ๒ นาน ๆ
ความเค็มในดิน และน้ำนั้นเค็มขึ้นมาก จากนั้นก็เปิดให้น้ำไหลจากแปลงที่
๒
ไปนายแปลงที่ ๓ นาแปลงที่ ๓ จะมีการเตรียมพื้นดินโดยบดอัดดินให้แน่นก่อน
โดยใช้น้ำผสมบดอัดหลาย ๆ ครั้ง ให้ดินท้องนามีความเค็มอิ่มตัว ใช้ท่อนซุงมะพร้าวบดโดยใช้คนลาก
พอแห้งให้รดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง
บดอัดอีกทีจนดินแน่นเค็มได้ที่
ทิ้งไว้ประมาณ
๑
สัปดาห์ ปล่อยน้ำจากแปลงที่ ๒ ลงมาชังไว้
เมื่อน้ำที่ขังในแปลงนา แปลงที่ ๓ มีความเค็มจัดจึงปล่อยลงแปลงที่ ๔ น้ำจะมีลักษณะความเป็นเกลือมากขึ้นทุกระยะ เมื่อปล่อยน้ำให้ไหลไปอยู่ในแปลงที่ ๕ ซึ่งเป็นแปลงสุดท้ายอยู่ใกล้ทะเล จนครบทุกแปลง จึงปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๗ - ๑๐ วัน เมื่อน้ำระเหยไปกับแสงแดดเหลืออยู่เล็กน้อย และเกลือตกผลึกแล้ว ก็ใช้เครื่องมือคราดตอกด้วยตะปูเคาะเกลือให้แตกแล้วกวาดด้วยเครื่องมือคราดทำด้วยไม้กระดานมากองไว้ และปล่อยให้น้ำที่เหลือระเหยแห้งไปเอง และล้างเกลือในพื้นไปในตัวด้วย ในระหว่างนี้ห้ามผู้ใดลงไปจะทำให้โคลนหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดตกลงไปปนเปื้อน
ถ้าน้ำระเหยเร็วโดยที่เกลือยังไม่ตกผลึก
ชาวนาก็ชักน้ำเข้าแปลงอีกครั้ง
จนกว่าจะได้เกลือ
เมื่อกวาดเกลือไปกองและนำขึ้นไปเก็บไว้เตรียมขาย
ให้ปล่อยน้ำเค็มจากแปลงที่ ๓ มาอีกครั้ง จนได้เกลือรอบที่ ๒ ,๓ และ ๔
ตามกระบวนการดังกล่าว
ประโยชน์
จะเห็นได้ว่า ในการทำนาเกลือที่ปัตตานีนั้น เดิมการนำน้ำทะเลเข้าไปในนาใช้แรงคนวิดเข้านาโดยใช้กาบหลาวชะโอน
หรือใบจากมาทำเป็นถังตักน้ำ
หรือทำด้วยไม้กระดานใช้ตะปูตอกเป็นรูปถังกลมหรือสี่เหลี่ยม
เพื่อใช้เป็นภาชนะวิดน้ำเข้านา มีด้ามคล้ายช้อนขนาดใหญ่ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๐๘
ใช้กังหันวิดน้ำเข้า ปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เครื่องยนต์สูบน้ำแทนการใช้กังหันลม
แต่ก็ยังมีกังหันลมเหลืออยู่เป็นหลักฐานบ้าง และการทำนาเกลือของจังหวัดปัตตานีในปัจจุบันก็ยังใช้วิธีการนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้เทคโนโลยีแบบพื้นบ้านมีผู้ทำนาเกลือเป็นอาชีพประมาณ
๕๐๐ คน พื้นที่
๓,๕๐๐
ไร่
ผลิตเกลือได้ปีละประมาณ
๗,๐๐
ตัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น